วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ลักษณะทั่วไปของการตลาด(The Nature of Markting)

การตลาด หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เคลื่อนย้าย โอนเปลี่ยนมือจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งกิจกรรมต่างๆ นั้น จะเกี่ยวข้องกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การหาสถานที่จัดจำหน่าย หารโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ เกิดความต้องการการตลาด และยังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ องค์กรธุรกิจ และช่วยให้ประชาชนได้รับการบริโภคตามที่ต้องการ ในเวลาอันเหมาะสมและสถานที่ที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นด้วย ขณะเดียวกันก็มีแนวทางการศึกษาการตลาดอย่างกว้างขวาง เช่น การศึกษาเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้ในการผลิต สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือธุรกิจ หน้าที่ในการปฎิบัติงาน สังคมหรือคนในชุมชน และการบริหารจัดการ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทุกด้านในปัจจุบัน
กิจกรรมของตลาดที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

การผลิต

(Production)

การจัดจำหน่าย Distribution

(Distribution)

การบริโภค

(consumption)

1.การผลิต(Production) หมายถึง การนำปัจจัยการผลิตที่มีอย่างจำกัดมาผ่านกระบวนการผลิต ซึ่งต้องอาศัยการผลิต การบริหาร การตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่เหมาะสม เพื่อให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด ให้ได้สินค้ามาตรฐานมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ดังนั่น การผลิตจึงเป็นการสร้างคุณค่าของสินค้าที่สามารถสนองตอบความต้องการของมนุษย์(Utility)
ปัจจัยการผลิต คือ สิ่งต่างๆ ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการแต่ละชนิดซึ่งแตกต่างกันไป นักเศรษฐศาสตร์ได้จัดกลุ่มปัจจัยการผลิตหลักๆ ไว้ 4 ประเภท ดังนี้
        1.ที่ดิน (Land)
        2.แรงงาน (Labour)
        3.ทุน (capital)
        4.ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
2.การจัดจำหน่าย(Distribution) หมายถึง การทำหน้าที่เคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่แห่งหนึงไปยังสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ จนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าคนสุดท้ายได้โดยอาศัยช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันไป เช่น บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าเสร็จแล้วนำมาเก็บไว้ในคลังสินค้า และวางแผนเลือกใช้ตัวแทนคนกลางหรือไม่ผ่านตัวแทนคนกลาง เพื่อที่จะให้สินค้ากระจายไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าในสถานที่ที่ลูกค้าต้องการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า เช่น ร้านค้าปลีก (7-Eleven) และอื่นๆ เป็นต้น
ช่องทางการจัดจำหน่าย(Distribution channel) เป็นเส้นทางในการนำสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย (Ultimate consumer) หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม สำหรับการใช้หรือการบริโภค
การกำหนดช่องทางการจัดจำหน่ายขึ้นมาก็เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับผู้บริโภค เพื่อให้มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตรงกับความต้องการ โดยทั่วไปมีการเลือกใช้ช่องทางการจัดจำหน่าย 2 แบบ ได้แก่ ช่องทางตรง (Direct channel) และช่องทางอ้อม (Indirect channel) 
        2.1 ช่องทางตรง (Direct channel)
        2.2 ช่องทางอ้อม (Indirect channel)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น